อีเมล์ :
รหัสผ่าน :
ลืมรหัสผ่าน
บริการประชาชน
น้องกุญชร
06.03
น้องกุญชร
สวัสดีจร้าาา...วันนี้มีอะไรให้น้องช่วยฮ่ะ ถามน้องกุญชรมาได้เลย จะรีบไปหาคำตอบให้ฮะ
06.03
สถานที่ท่องเที่ยว
ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมและสวนบุรพาจารย์

ข้อมูลสำหรับนักท่องเที่ยวศูนย์ศิลปวัฒนธรรมและสวนบุรพาจารย์                                                                                                              

ประวัติศูนย์ศิลปวัฒนธรรมและสวนบุรพาจารย์     รายละเอียดและแผนที่การเดินทาง    

1.สถานที่ตั้ง 

          อยู่ในบริเวณสวนบุรพาจารย์  อำเภอระโนด  จังหวัดสงขลา สถานที่ต่างๆ มีอยู่ 5 อย่างที่อยู่ในสวนบุรพาจารย์นี้ คือ

1.1  ลานรูปปั้นพระพิฆเนศและสี่บุรพาจารย์

      

1.2  อาคารเอนกประสงค์

    

1.3  สระว่ายน้ำและสนามเทนนิส

 

1.4  หอคอยเฉลิมพระเกียรติ  ความสูง 8 ชั้น

1.5  อาคารพิพิธภัณฑ์ระโนด

2.  พิพิธภัณฑ์ระโนด

          เป็นอาคารแฝด  2 ชั้น  แต่ละชั้นมีพื้นที่ใช้งานขนาด  10x20 เมตร  มีทางเดินเชื่อมถึงกันระหว่างอาคารแฝด  รวมแล้วตั้งอยู่ในที่ดินขนาด  20 x 30  เมตร  หรือ 600  ตารางเมตร

          ภายในตัวอาคารแบ่งออกเป็นส่วนต่างๆ  คือ

2.1  ห้องธุรการ  และห้องนั่งพักผ่อน

2.2  ห้องนิทรรศการ

2.3  ห้องวีดิทัศน์

2.4  ห้องระโนด  1

2.5  ห้องระโนด  2

ห้องนิทรรศการ

  1. ห้องนี้เป็นห้องจัดแสดง  เครื่องมือและอุปกรณ์ชิ้นใหญ่ๆของชาวระโนดในสมัย 80  ปีที่แล้ว  เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
  2. ในห้องจะมีอุปกรฯต่างๆ  แบ่งออกเป็นกุ่มๆ ได้ดังนี้

1 . 

          1A , 1B, 1C  =  เสาร์กระโดงเรือใบ  เอามาตัดเพราะมีขนาดใหญ่มาก จึงต้องเอามาตัดเป็น  3 ชิ้น เพื่อสะดวกในการจัดแสดง

          1D  = แจวใช้กับเรือใบ  แจวนอกจากใช้กับเรือใบแล้ว ยังสามารถใช้กับเรือแจวด้วย

เรือใบใช้บรรทุกข้าวสารสูงสุดได้ 50 ตัน

-   รอกไม้     ใช้สำหรับดึงใบเรือขึ้นเสาร์

-  รอกเหล็ก   ใช้สำหรับดึงใบเรือขึ้นเสาร์

-  โซ่สมอเรือ   ลำเล็กใช้เชือก  ลำใหญ่ใช้โซ่เหล็ก

-  เลื่อยคันชักขนาดใหญ่  ใช้สำหรับตัดไม้ขนาดใหญ่  สำหรับเลื่อย 2 คน

-  เลื่อยคันชักขนาดเล็ก  ใช้สำหรับตัดไม้ขนาดเล็ก หรือตกแต่งไม้

-  กระเป๋าเหล็ก

-  ตู้เซฟ

*อุปกรณ์ทั้งหมดมีเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2

  1. เรือพาย

          เรือพายของชายระโนดในอดีต   90 % จะมีรูปทรงแบบนี้ ใช้ในการเดินทาง  ระโนด-หัวไทร / ระโนด- ลำปำ  นั่งได้ 3 คน / ลำ นักเรียนส่วนใหญ่ใช้เรือลักษณะนี้เป็นพาหนะไปโรงเรียน

      2. เครื่องโรงสี

          ใช้มากในปี 2500  ใช้เป็นเครื่องเรือหรือเครื่องโรงสีก็ได้  ในอดีตมีเครื่องยนต์ประเภทนี้อยู่อย่างเดียว  ส่วนใครที่ได้เป็นเจ้าของเครื่องยนต์  จะเรียกกันว่า “เฒ่าแก่” 

          -  ชั่งในโรงสีในสมัยนั้นจะเป็นแบบนี้ทั้งหมดใช่ในการชั่งกระสอบข้าวสารในโรงสี

          -  ตราชั่งแบบเคลื่อนที่ เป็นชั่งที่ชาวบ้านจัดหามาได้  มีขายอยู่ทั่วไป

     3. เครื่องยนต์เรือ

              เครื่องยนต์ที่จัดแสดงเป็นเครื่องยนต์ชนิดใหม่แล้ว  และเครื่องเรือยนต์เครื่องสุดท้ายในระโนด ก็คือ “เรือชายวารี”  ตัวเรือจัดแสดงอยู่นอกออาคาร  เครื่องเรือยนต์มีอยู่ในอำเภอระโนดในปี พ.ศ.  2535  มีเรือดังนี้

-  เรือยนต์ขนาดใหญ่

- เรือยนต์ขนาดกลาง  เดินทางระโนด-เกาะใหญ่ – ลำปำ  บรรทุกข้าวสารได้ประมาร  100  กระสอบ

-  เรือยนต์ขนาดเล็ก  ใช้วิ่งตามลำคลอง บรรทุกได้ประมาร  20 คน

     ตัวถือท้าย (พวงมาลัย) ที่จัดแสงแดงเป็นพวงมาลัยของเรือศิริพร

    4. เครื่องเรือหางยาว

          เรือหางยาว มีขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2508  บรรทุกไม่เกิน 20 คน เดินทางใช้ระยะเร็วกว่าเรือเล็กประมาร 3 เท่า  ข้อเสียอย่างเดียวคือ ไม่มีหลังคา  ผู้โดยสารจึงต้องใส่หมวกหรือ เอาผ้าขาวม้ามาคลุม กันเอง

    5. ถนน

ระโนดมีถนนในปี  พ.ศ. 2508  เป็นถนนดินเหนียว  + ดินทราย แล้วได้พัฒนาเป็นลูกลังในปี พ.ศ. 2510  รถที่เข้ามาในอำเภอระโนดคันแรกในปี    พ.ศ.  2508  (รถมอเตอร์ไซ)  หลังจากปี พ.ศ. 2508  ในอำเภอระโนด เริ่มมีการยกเลิกอะไรหลายๆ อย่าง ให้เข้ากับยุคสมัย  หลังจากจากมีรถมอเตอร์ไซ ก็เริ่มมีรถยนต์เข้ามาตามลำดับ 

     ในอดีตการเดินทางโดยรถ  จากระโนด-สงขลา  ใช้เวลา 6 ชั่วโมง  แต่ถ้าเดินทางด้วยเรือ  จะใช้เวลา 12 ชั่วโมง  และเริ่มมีการยกเลิกเรือหางยาว  แล้วหันมาใช้ถนนเป็นหลัก  ในปี พ.ศ. 2535

  6. เครื่องยนต์ไถนา

          ในปี 2510  เริ่มใช้เครื่องยนต์ในการเกษตรและการไถนา เป็นเครื่องยนต์ขนาดเล็ก  ใช้นขนาด  3-5  แรง  และใช้มาจนถึงปัจจุบัน

       6.1ชาวระโนดในอดีต  นิยมทำนาเป็นหลัก  รองจากทำนาคือการประมง และค้าขาย  ในปี พ.ศ.  2525  นิยมเลี้ยงกุ้งกุลาดำ  เป็นส่วนใหญ่  โดยเฉพาะคนที่มีบ้านอยู่ติดชายฝั่งอ่าวไทย  มีการขุดบ่อเลี้ยงกุ้งเป็นจำนวนมาก  ทำไห้หลายคนในสมัยนั้นเป็นเศรษฐี   และมีหลายคนล้มละลายในเวลาเดียวกัน   ข้อเสียของเครื่องจักรชนิดนี้คือ  เปลืองน้ำมัน  และค่าบำรุงรักษา  ปัจจุบันจึงเปลี่ยนจากเครื่องยนต์  เป็นการใช้ไฟฟ้าแทน

-  จักรเย็บผ้าเพิ่งมาใช้ในสงครามโลกครั้งที่ 2  แต่เป็นจักรแบบถีบ  หลังจากปี พ.ศ.  2510  จึงมีจักรมอเตอร์เข้ามา และมีลักษณะแตกต่างกันไป

-  คอมพิวเตอร์  ในสมัยนั้นใช้เฉพาะสำนักงานและหน่อยงานเท่านั้น   และมีโปรแกรมอยู่แค่ไม่กี่โปรแกรม   ใช้สำหรับพิมพ์งาน และเอกสารทางราชการ เท่านั้น

-  เครื่องขยายเสียงในระโนด  เริ่มมีเข้ามาตั้งแต่ก่อนสงครามโดลกครั้งที่ 2

-  เครื่องเล่นดีวีดี / เทป  มีตั้งแต่ พ.ศ.  2535-2550  หลังจากปี พ.ศ. 2550  ก็นิยมใช้น้อยลง 

พิพิธภัณฑ์ ห้อง 1

เข้าสู่ระโนด

จะแสดงให้เห็นถึงพระราชวงศ์ชั้นสูงที่เคยเสด็จมาเยี่ยมเยียนท้องที่อำเภอระโนด 

ระโนด : เมืองน่าอยู่ ผู้คนน่ารัก

แสดงสภาพอำเภอระโนด ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ  สังคม  การเมือง  การปกครอง  วิธีชีวิตของชาวระโนดในปัจจุบัน  ซึ่งมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ตามแผนแม่บทโครงการพัฒนาเมืองเพื่อการท่องเที่ยว : ระโนดมรดกลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา

ระโนด : มรดกลุ่มน้ำทะเลสาบสงขล

เรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ระโนด  การค้นพบหลักฐานทางโบราณคดี  ชื่อระโนด  แผนที่  สภาพพื้นที่  ภูมิประเทศ   ภูมิอากาศ  โบราณสถาน  โบราณวัตถุ  และสภาพความเป็นอยู่ของชาวระโนดในอดีต

วีถีน้ำ 

ระโนดเป็นเมืองสองเล  ในอดีตถูกเรียกว่า  “เป็นดินแดนที่ใช้เรือต่างจักยาน  ใช้สะพานต่างถนน”  เพราะวิถีของชาวระโนดผูกพันกับน้ำ  จึงใช้น้ำในการประกอบอาชีพ  และกิจกรรมประจำวัน  ห้องนี้จะจัดแสดงเส้นทางการคมนาคมทางน้ำ  ทั้งที่วิ่งในทะเลหลวง,ทะเลสาบและคลองระโนด เช่น เรือใบ  เรือแจว  เรือพาย  เรือยนต์โดยสารชั้นเดียวขนาดเล็กวิ่งระหว่าตำบล  , เรือยนต์โดยสาร 2 ชั้น  หรือเรือเมย์ วิ่งในทะเลสาบและอ่าวไทย  รวมทั้งจัดแสดงอุปกรณ์ต่างๆ ในการทำประมง เป็นต้น

วิถีบก นา โหนด

เอกลักษณ์ที่สำคัญอย่างหนึ่งของระโนดคือ ทุ่งนา  ซึ่งจะมองเห็นสุดลูกหูลูกตา ระโนดเป็นที่ราบลุ่มสภาพพื้นที่เหมาะกับการทำนา  ประชากรร้อยละ 90 จึงประกอบอาชีพทำนา ควบคู่กันไปกับการปลูกต้นตาลโตนด  จนได้รับการขนานนามว่า “ เป็นอู่ข้าวอู่น้ำของจังหวัดสงขลา”

วิถีเริน

เป็นการจำลองบ้านโบราณแสดงให้เห็นถึงที่อยู่อาศัย ของชาวระโนดในอดีต  จัดแสดงเพื่อให้เห็นว่าชาวบ้านในอดีตมีชีวิตความเป็นอยู่อย่างไร

วิถีทำกิน

จำลองอุปกรณ์ในห้องครัว  อาหารการกินที่เป็นอาหารพื้นถิ่นยอดนิยมทั้งประเภทของคาว  และของหวาน

ของใช้แต่เก่าก่อน 

แสดงสิ่งของ  เครื่องใช้สมัยดบราณ ที่ได้รับการบริจาคมาจัดแสดง  ตามประเภทต่างๆ เช่น เครื่องทองเหลือง  เครื่องแก้ว  วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในครัวเรือน  เครื่องปั่นดินเผา  วิทยุ กล้องถ่ายรูป เป็นต้น

ชุมชนคนระโนด

นำเสนอชุมชนสำคัญในอดีต  เช่น  ชุมชนวิถีพุทธครองแดน  ชุมชนชาวมุสลิมบ่อตรุ  ชุมชนระโนด  และชุมชนอื่นๆ

ตลาด – ร้านค้า – ศิลปวัฒนธรรม

จำลอง  ตลาดและร้านค้าในอดีต  เช่น ร้านขายของเล่น (ร้านป้าเมียง)  ,  ร้านขายสรรพสินค้า (ร้านบุญส่งพานิช) ,  ร้านน้ำชา (ร้านโกโผ้ง)   มีการจำลองโรงมโนรา (มโนรายก ชูบัว บ้านเกิดอยู่ที่ ทะเลน้อย แต่ได้มาอาศัยอยู่ที่อำเภอระโนด บั่นท้ายของชีวิตได้รับเป็นศิลปิน แห่งชาติ และได้เสียชีวิตที่อำเภอระโนด) , หนังตลุง (หนังเล็ก นวลศรี) 

เห็นด้วยภาพ

แสดงภาพถ่ายของสถานที่ บุคคล  และกิจกรรมต่างๆ  ที่เกิดขึ้นในอดีต  อันสะท้อนให้เห็นสภาพท้องถิ่น  ความเป็นอยู่ของประชาชน

สี่บุรพาจารย์

แสดงประวิติและผลงานของสี่บุรพาจารย์  ได้แก่

-  อาจารย์สนั่น    หิรัญวรชาติ

- อาจารย์นิต       โสตถิพันธุ์

- อาจารย์เกลื่อน  ศิรินุพงศ์

- อาจารบำรุง       สวัสดี

อาจารย์ทั้ง 4 ท่าน เป็นผู้กระตุ้นให้ครอบครัวให้สนับสนุนการศึกษาของบุตร  โดยจัดตั้งโรงเรียนมัธยมแห่งแรกในอำเภอระโนด  ทำให้เด็กระโนดและอำเภอข้างเคียงมีโอกาสได้เรียนต่อระดับสูงขึ้นไปอีก  จนสามารถประกอบอาชีพที่มั่นคงและมีชื่อเสียงในองค์กรต่างๆ มากมาย

แรกมีระโนด

     แสดงสิ่งแรกมีที่เกิดขึ้นในระโนด  ที่เป็นวัตถุ  เช่น โรงเรียนประถมศึกษาแห่งแรก  โรงเรียนมัธยมแห่งแรก  โรงไฟฟ้า  โรงน้ำแข็ง  โรงสี  โรงแรม  ร้านถ่ายรูป  โรงพยาบาล  ธนาคาร  ฯลฯ

 การร่วมแรง  ร่วมใจ  ร่วมพัฒนา

แสดงไห้เห็นถึงพลังแห่งการสามัคคี  การร่วมมือร่วมแรงกันของชาวระโนดในการทำประโยชน์ให้แก่ท้องถิ่น  เช่นร่วมมือกันบริจาคเงิน  ที่ดิน  แรงงาน  เพื่อช่วยกันจัดสร้างที่ว่าการอำเภอ  สถานีอนามัย  การจัดสร้างศูนย์ศิลปวัฒนธรรมและสวนบุรพาจารย์ 

ก่อนจะเป็นพิพิธภัณฑ์

สรุปความเป็นมาของการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ระโนด  และรายชื่อคณะกรรมการทุกชุดที่ร่วมกันทำงานนี้จนสำเร็จเป็น “พิพิธภัณฑ์ระโนด”

 

 

 

สถานที่ท่องเที่ยวอื่นๆ